วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความหมายของนวัตกรรม
           “นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย



ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
           “นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) ารใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น


ความหมายของเทคโนโลยี
           ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า วิทยาศาสตร์ประยุกต์” หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า เทคโนโลยี
เทคโนโลยีี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist)



เทคโนโลยีทางการศึกษา
           เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
           สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
           1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
                1.1 คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
                1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
                 1.3 เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
                 1.4 สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
          2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด แบบเรียนโปรแกรม’ ซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
          3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
          4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก



แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
           ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้ประการ คือ
           1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้
           2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้
           3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้
           4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น

21 ความคิดเห็น:

  1. หัวบล๊อคนะครับตรงหัวข้อควรใช้ตัวหนังสือที่ใหญกว่านี้และสีตัวหนังสือ มันกลมกลืนมากไปกับแบล็คกาวข้างหลังทำให้อ่านได้ลำบากครับ
    เนื้อหา ควรแต่งสีแยกเป็นสีของแต่ละหัวข้อเพื่อสามารถทำให้คนอ่านดูแล้วสบายตาครับ ภาพรวมก็ถือว่าดีครับ

    ตอบลบ
  2. หัวบล็อก ควรจะปรับให้มีขนาดน้องกว่าดี เพลงในบล็อกควรที่จะเอาออกเพราะ เพลงมันจะไปรบกวน การอ่านของผู้อ่าน VDO และ รูปภาพ ที่เกี่ยวกับเนื่อหาควรจะใส่ให้มากกว่านี้

    ตอบลบ
  3. บล็อกสวย แต่หัวบล็อกมันใหญ่ไปนะ การตกแต่งโดยรวมสวยค่ะ

    ตอบลบ
  4. บล็อกสวยงาม หัวบล็อกสีตัวหนังสือเห็นได้ชัดเจน ตัวหนังสือของบทความ เล็กไปควรทำตัวใหญ่กว่านี้
    มีเส้นคั้นระหว่างบทความ ทำให้เวลาอ่านไม่เบื่อ ด้านข้างทั้งสอง วีดีโอ ลิ้งค์ รูปถาพ ต่างๆ ควรจัดให้เท่ากัลจะได้สวย ^^

    ตอบลบ
  5. หัวบล็อกสวยคะแต่น่าจะปรับขนาดให้เล็กกว่านี้นะคะ เสียงเพลงดังเกินไปคะปรับลงเบากว่านี้น่าจะดีแต่ถ้าจะให้ดีน่าจะเลือกเพลงที่ฟังสบายๆ จะเหมาะกว่าคะคนอ่านจะได้มีสมาธิ บทความมีสีสันสวยงามคะสามารถดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี แต่บทความที่อยู่ข้างซ้าย ขวา มันเยอะเกินไปนะคะควรจะปรับให้เท่ากับบทความตรงกลางคะ

    ตอบลบ
  6. ออกแบบหัวบล็อกสวย แต่น่าจะลดขนาดลงหน่อย มันใหญ่ไป เนื้อหาใส่สีสันสวยงามดูน่าสนใจ พื้นหลังสวย แต่เนื้อหาด้านข้างเยอะไปหน่อย โดยรวมสวยมาก

    ตอบลบ
  7. หัวบล็อกตกแต่งสวยงามมากค่ะ ตัวหนังสือมีสีสันดีไม่แสบตาเกินไป ส่วนเนื้อหาครบถ้วนมีความน่าสนใจมากค่ะ

    ตอบลบ
  8. สวัสดีค่ะ หัวบล๊อกตกแต่งสวยมาก ลิงค์วีดีโอครบถ้วนสมบูรณ์ค่ะ ตัวหนังมีสีสันอ่านง่ายสบายตามีความน่าสนใจมากค่ะว่าวๆก็เข้าไปคอมเม้นของเราบ้างนะ

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ17 กรกฎาคม 2556 เวลา 18:59

    บล็อกนี้สวยดีนะค่ะแต่หัวบล็อกควรจะปรับปรุงนิดหน่อย
    เนื่องจากขนาดใหญ่เกินไปและภาพแตก
    ส่วนเนื้อหาก็เยอะดีมีวีดีโอให้ดูเพิ่มเติมด้วยแต่น่าจะลดเนื้อหาในส่วนข้างลงหน่อย
    น่าจะใส่เป็นภาพที่สามารถลิงค์ได้แทนนะค่ะและจะสมบูรณ์มากกว่านี้

    ตอบลบ
  10. เริ่มตั้งแต่หัวบล็อกเลยนะครับ ภาพหัวบล็อกครับจะปรับปรุ่งใหม่นะครับ เพราะขยายแล้วภาพมันแตกมองแล้วไม่ชัด ทำให้เกิดอาการปวดตา ส่วนข้อความข้างๆ ยังมีสีที่อานแล้วยังแสบตาอยู่ ส่วนบลความบางบทความยังจัดไปเป็นระเบียบยังมองแล้วไม่น่าอ่านโดยรวมของบล็อกควรจะปรับปรุ่งนิดหน่อย ทำดีแล้วครับทำต่อไป สู้ๆ นะครับ

    ตอบลบ
  11. เริ่มจากหัวของบล็อกมีการออกแบบได้สวย ทั้งเรื่องการเลือกใช้ฟอร์นตัวหนังสือ สีตัวอักษร ในส่วนของเนื้อหาเรียบเรียงได้ดีค่ะ ไม่น้อยจนเกินไป อ่านแล้วตรงตามหัวข้อตามหน่วยการเรียนรู้ที่มี พร้อมทั้งเข้าใจง่าย VDO ตรงกับเนื้อหาดี เวลาอ่านเพลินดีค่ะ ถือว่ามีความหลากหลายน่าสนใจค่ะ

    ตอบลบ
  12. หัวบล๊อก มีการใช้ตัวอักษรที่สนใจ ดึงดูดความสนใจทั้งเรื่องสีสัน และขนาดที่ปรับเปลี่ยนเล้ก ใหญ่ ในส่วนเนื้อหา ตัวหนังสือมีสีและขนาดที่อ่านง่าย แต่ถ้าเว้นช่วงจัดวรรคจะทำให้น่าอ่าน มีวีดีโอพอสมควร ตัวหนังสือด้านข้างเยอะเกินไป มีขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง ทำให้มันไม่เรียยบร้อย เช่นตรงเรื่องความซื่อสัตย์ ที่ควรปรับปรุงขนาดให้เข้ากันค่ะ

    ตอบลบ
  13. สวัสดีจ้า พลอย เริ่มจากหัวบล๊อกเลยนะจ๊ะ หัวบล๊อคตกแต่งได้มีสไตล์กราฟฟิก ทำให้คนที่เข้ามาชม ไม่เบื่อง่าย รูปภาพที่นำมาตกแค่งก็สื่อความหมายได้ดีค่ะ เนื้อหาที่นำมาเสนอก็มีประโยชน์ต่อนักศึกษามากค่ะ
    พื้นหลังกับลูกเล่นของพื้นหลังสวยงามมากค่ะ โดบรวมดูดีแล้วค่ะ

    ตอบลบ
  14. เริ่มจากหัวบล็อกเลยน่ะบัดดี้ พื้นหลังหัวบล็อกต้องแก้ไขปรับปรุงน่ะ เพราะภาพมันไม่ชัีดพอขยายแล้วภาพมันแตก เลยทำให้หัวบล็อกไม่สวยเท่าไหร่ ส่วนเนื้อหาก้อครบถ้วนดีจร้าสีสันสดใสมองเลยสบายตา อ่านก้อง่าย คลิปวิดีโอที่นำมาประกอบในลบ็อกก้อมีความหลากหลาย แต่น่าจะมีรูปภาพประกอบบ้างน่ะ จะได้มีเนื้อหาครบสมบูรณ์ตามที่อาจารย์กำหนดให้ สรุปคือต้องปรับปรุงหัวบล็อกเพิ่มรูปภาพประกอบน่ะจร๊บัดดี้

    ตอบลบ
  15. สวัดดีค่ะ เริ่มจากหัวบล็อกนะค่ะ ตัวหนังสือที่หัวบล็อกออกแบบสวยมากค่ะ โดยร่วมหัวบล็อกสวยมากค่ะ ส่วนเนื้อหา ตัวหนังสือมันติดกันมากเกินไป แต่สีสันสวยงาม เข้ากับพื้นหลัง ส่วนด้ายข้างทังสองด้าน น่าจมีวิดีโอและภาพที่มากกว่านี้ เพราะสว่นเนื้อหามี เนื้อหาที่น่าสนใจอยู่แล้ว ด้านข้างควรไม่น่ามีตัวหนังสือ เพราะอาจทำให้ผู้เอาชมเบื่อและไม่อย่างอ่านเพราะตัวหนังสือมันเยอะ

    ตอบลบ
  16. หัวบล็อคสวยงามมาก ตัวหนังสือเด่นเห็นได้ชัดเจนดี ส่วนเนื้อหาก้ดีมีการใช่ลูกเล่นให้น่าสนใจทำทำให้ไม่น่าเบื่อแต่เราว่าควรปรับตัวหนังสือด้านข้างให้น้อยลงก้จะทำให้น่าสนใจมากกว่านี้เพราะมันเยอะเกินไป

    ตอบลบ
  17. สวัสดี "พลอย" จากการที่เราได้เข้ามาเยี่ยมชมบล็อก เริ่มจากรูปหัวบล็อกแต่งได้สวยมาก แตกต่างจากบล็อกอื่นๆมาก แนวคิดดีไม่ซ้ำใคร ฟอร์นก็สวยมาก เรื่องเนื้อหา เท่าที่ได้ลองอ่านดูแล้ว อ่านง่ายดี องค์ประกอบข้างๆ ดูน่าสนใจมาก มีวีดีโอในส่วนของเทคโนโลยีใหม่ๆให้ศึกษาน่าสนใจดี เหมาะสมกับการศึกษาเรียนรู้ และเนื่อหาในส่วนของความพอเพียงก็น่าศึกษาเช่นกัน สรุปแล้วทำออกมาได้ดีมาก เห็นแล้วน่าอ่านมาก

    ตอบลบ
  18. พลอย สาวิตรี : หัวบล็อกสวยมากจ้า เนื้อหาก็แน่นและครบถ้วน สื่อวีดีโอก็มีประโยน์ต่อการศึกษา โดยรวมแล้วดีมากเลยจ้า :)

    ตอบลบ
  19. จากที่ดูมา เริ่มจากหัวบล็อกก่อนแล้วกันนะค่ะหัวบล็อกสวยดีดูแล้วสบายตาตกแต่งได้สวยงามมากจัดวางได้เป็นอย่างดี
    ตัวหังสืออ่านง่าย เนื้อหาครบถ้วนมีการตกแต่งด้วยสีที่สวยงามและตัวขั้นข้อความที่สบายตาจัดวางเนื้อหาได้สวยมีการเว้นวรรคได้ถูกต้องมีวีดีโอให้ดูเพิ่มเติมด้วยจัดวางตามลำดับได้เหมาะสมและเมืื่อเปิดเข้าไปดูแล้วทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆเพิ่มเติมเยอะมากแต่พื้นหลังน่าจะเป็นพื้นที่เรีบยกว่านี้เพราะดูแล้วลายตานอกนั้นสมบูรณ์มากค่ะ

    ตอบลบ
  20. พลอยออกแบบหัวบล๊อกได้สวยมากครับ แล้วรูปแบบของบล๊อกดูแล้วสบายตาดี สีสันตัวหนังสือสวยมาก แต่เนื้อหาด้านข้างเยอะไปหน่อยนะ :') อยากให้มี ภาพ หรือ วีดีโอ เพิ่มเติมนิดๆ บลีอกพลอยจะน่าสนใจและน่าอ่านมากขึ้นครับ :')

    ตอบลบ