วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สวัสดีค่ะ
ชื่อ : นางสาวสาวิตรี  คุ้มญาติ พลอย
รหัส : 554144069
สาขาวิชา : คอมพิวเตอร์ศึกษา
คณะ : วิทยาศาสตร์อละเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏจอมบึง  จังหวัดราชบุรี

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

โครงการสอน

วิชานวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา PC54505 3(2-2-5)
(Innovation, Technology and Information in Education)


อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ 
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ภาคเรียนที่ 1 / 2556


คำอธิบายรายวิชา
          ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ แหล่งเรียนรู้ การสร้าง การออกแบบ การนำไปใช้ การประเมินผล การปรับปรุงนวัตกรรม สามารถเลือกใช้ ออกแบบ สร้าง ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อส่งเสริมการเรียนรุ้ของผู้เรียน


วัตถุประสงค์

          เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหากิจกรรมในบทเรียนแล้วจะมีความสามารถหรือพฤติกรรมอังนี้
          1.อธิบายความหมาย ความสำคัญ หลักการ และแนวคิดนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา
          2. อธิบายบทบาท คุณค่า ประเภท และประโยชน์ของนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษาได้
          3. อธิบายความสัมพันธ์ของนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้
          4. บอกขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม และเปรียบเทียบความแตกต่างกับเทคโนโลยีได้อย่างชัดเจน
          5. บอกความหมาย ขั้นตอนและกระบวนการของการเรียนรู้ การรับรู้ตามธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละวัยได้
          6. วิเคราะห์สาเหตุในการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการปัญหาทางการศึกษาได้
          7. ยกตัวอย่างนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาในยุคปัจจุบันได้
          8. ออกแบบและสร้างสรรค์นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้
          9. ปรับปรุงและเลือกใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการศึกษากับการเรียนการสอนได้
          10. ประเมินผลนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้
          11. ระบุและเสนอแนะแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้
          12. ออกแบบการเรียนการสอนในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้



เนื้อหาบทเรียน

          หน่วยการเรียนที่ 1 แนวคิด ทฤษฎี ความหมาย ความสำคัญของนวัตกรรม เทคโนโลยีและ สารสนเทศ
          หน่วยการเรียนที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
          หน่วยการเรียนที่ 3 สื่อการเรียนการสอน
          หน่วยการเรียนที่ 4 วิธีระบบ
          หน่วยการเรียนที่ 5 จิตวิทยาการเรียนการสอน
          หน่วยการเรียนที่ 6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
          หน่วยการเรียนที่ 7 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
          หน่วยการเรียนที่ 8 หนังสืออีเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
          หน่วยการเรียนที่ 9 สื่อมัลติมีเดีย (Multi-Media)
          หน่วยการเรียนที่ 10 การเรียนการสอนแบบผสมผสาน




กิจกรรมการเรียนการสอน

          1. รูปแบบการสอนเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (blended learning) ระหว่าง การเรียนการสอนในห้องเรียนปกติ(Face-to-Face or Traditional Classroom) กับ การเรียนการสอนบนออนไลน์โดยใช้เว็บบล็อก (Online Learning with Weblog)โดยใช้อัตราส่วน 39% - 79%
          2. เทคนิควิธีสอน
                    2.1 การบรรยายประกอบสื่อการเรียนการสอน
                    2.2 การมอบหมายงาน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
                    2.3 การทำงานเป็นกลุ่มด้วยการแสดงความคิดเห็น
                              - การซักถาม
                              - การอภิปราย
                              - การทำแบบฝึกหัด
                              - การแสดงผลงาน



การบูรณาการกับความพอเพียง

          ความมีเหตุผล
          ความพอประมาณ
          ภูมิคุ้มกันในตนเองที่ดี
                    - เงื่อนไขความรู้ : รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง
                    - เงื่อนไขคุณธรรม : ซื่อสัตย์ แบ่งปัน




คุณลักษณะที่พึงประสงค์

          ผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานี้จะต้องเป็นผู้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำคัญได้แก่ ความซื่อสัตย์ โดยแสดงออกอย่างบูรณาการอย่างสัมพันธ์กับพฤติกรรมต่างๆไปพร้อมๆกับกิจกรรมการเรียนการสอนทุกขั้นตอน เช่น
                    - ความรับผิชอบและตรงต่อเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน
                    - มีความรักความสามัคคีในกลุ่มผู้เรียนร่วมวิชาเอกเดียวกันและวิชาเอกอื่นๆ
                    - ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์
                    - ใฝ่ดี ใฝ่รู้ สู้งาน
                    - มีความคิดสร้างสรรค์
                    - มีระเบียบวินัยในการแต่งกาย
                    - สุภาพ เสรีภาพ อ่อนน้อม และให้เกียรติผู้อื่น



แหล่งเรียนรู้

          1. ห้องสมุด
          2. อินเตอร์เน็ต
          3. เอกสารประกอบการสอน
          4. ตัวอย่างเว็บบล็อก
          5. สื่อของจริง ของตัวอย่าง
          6. ชุมชนท้องถิ่น




การวัดและประเมินผล

          1. การวัดผล
                    1.1 การเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน(คุณลักษณะที่พึงประสงค์) 10 %
                    1.2 เอกสารรายงาน การแสดงความคิดเห็นและการประเมิน (รายบุคคล) 10 %
                    1.3 เว็บบล็อก (รายบุคคล) 20 %
                    1.4 เว็บบล็อก (กลุ่ม) 20 %
                    1.4 การนำเสนอผลงานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน 20 %
                    1.5 สอบปลายภาค 20 %

          2. การประเมินผล

                    ระดับคะแนน          80 – 100          ค่าระดับคะแนน            A
                    ระดับคะแนน          75 – 79            ค่าระดับคะแนน            B+
                    ระดับคะแนน          70 – 74            ค่าระดับคะแนน            B
                    ระดับคะแนน          65 – 69            ค่าระดับคะแนน            C+
                    ระดับคะแนน          60 – 64            ค่าระดับคะแนน            C
                    ระดับคะแนน          55 – 59            ค่าระดับคะแนน            D+
                    ระดับคะแนน          50 – 54            ค่าระดับคะแนน            D
                    ระดับคะแนน          0 – 4                ค่าระดับคะแนน            E
ความหมายของนวัตกรรม
           “นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย



ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
           “นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) ารใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น


ความหมายของเทคโนโลยี
           ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า วิทยาศาสตร์ประยุกต์” หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า เทคโนโลยี
เทคโนโลยีี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist)



เทคโนโลยีทางการศึกษา
           เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
           สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
           1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
                1.1 คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
                1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
                 1.3 เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
                 1.4 สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
          2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด แบบเรียนโปรแกรม’ ซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
          3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
          4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก



แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
           ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้ประการ คือ
           1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้
           2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้
           3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้
           4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น